บริการ PRP หรือ Platelet Rich Plasma อีกหนึ่งนวัตกรรมของการรักษาผมบาง ผมร่วง หัวล้าน โดยไม่ต้องทำการผ่าตัด โดยขั้นตอนของการรักษาจะเป็นประเภทของการกระตุ้นเซลล์รากผมให้มีความแข็งแรงและทำให้ผมของผู้เข้ารับบริการมีความหนาแน่นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม หลาย ๆ คนอาจยังไม่ทราบว่าเจ้าหัตถการตัวนี้มีวิธีการอย่างไร และสามารถช่วยรักษาปัญหาเส้นผมและหนังศีรษะได้จริงหรือเปล่า ดังนั้น เราจะมาดูไปพร้อม ๆ กันว่ามีรายละเอียดอย่างไรบ้าง
บริการ PRP คืออะไร เหมาะกับใคร ช่วยแก้ไขปัญหาอะไรได้บ้าง?
การทำ PRP (Platelet Rich Plasma) หรือ Hair Therapy เป็นการซ่อมแซมเซลล์รากผมที่อ่อนแอ ให้กลับแข็งแรงขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งการทำ PRP นี้ถือเป็นการปลูกผมในรูปแบบหนึ่ง กับคนไข้ที่มีภาวะปัญหาผมบาง และหลุดร่วงง่ายแต่จะไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้กับบริเวณที่ไม่มีผมขึ้นมาเลย หรือไม่สามารถแก้ไขปัญหาหัวล้านได้นั่นเอง
PRP คืออะไรหลายคนสงสัยเรามีคำตอบ
คือ เกล็ดเลือดที่มีความเข้มข้นกว่าเกล็ดเลือดในกระแสโลหิตทั่วไป 3–4 เท่า โดยเป็นเกล็ดเลือดเข้มข้นที่เหมาะสมในการใช้ในการรักษา การนำเลือดไปปั่นเพื่อให้เลือดเกิดการแยกชั้นแล้วเอาเฉพาะส่วนที่เป็น Plasma สีเหลืองนำกลับไปฉีดเข้าร่างกายใหม่ซึ่งใน PRP นี้ มี Growth Factor คือโปรตีนหรือไกลโครโปรตีน ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์
โดย PRP แพทย์จะทำการฉีดไปบริเวณส่วนที่ต้องการการฟื้นฟู และยังช่วยกระตุ้นเซลล์รากผมที่หยุดทำงาน ให้กลับมาสร้างเส้นผมได้พร้อมบำรุงให้เกิดความแข็งแรง ผลลัพธ์ที่ออกมาจะสามารถเห็นความหนาแน่นของเส้นผมเพิ่มขึ้นได้ด้วยตาเปล่า นอกจากนี้ PRP ยังเป็นวิธีที่ปลอดภัย ไร้สารเคมี ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้น สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติหลังทำ นับว่าเป็นทางเลือกในการรักษาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และสามารถทำควบคู่กับการปลูกผม FUE/DHI/NHI ฯลฯ ได้อีกด้วย โดยPRP จะประกอบไปด้วยสารต่างๆ ที่ช่วยการแข็งตัวของเลือด ช่วยสร้างและส่งเสริมการสร้างเส้นเลือด กระตุ้นการเจริญเติบโตและการแบ่งของเซลล์ผิวหนัง กระดูก คอลลาเจน ช่วยให้แผลสมานเร็วขึ้นด้วยนั่นเอง
PRP ผม เหมาะกับใครบ้าง
จากที่ได้กล่าวไปข้างต้น ว่า PRP จะเป็นหัตถการที่เหมาะกับผู้ที่มีภาวะผมร่วง ผมบาง มากกว่าผู้ที่มีภาวะศีรษะล้าน เพราะเป็นการกระตุ้นและฉีดบำรุงให้เซลล์รากผมมีความแข็งแรงแรงมากขึ้น ดังนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้เข้ารับบริการต้องมีเส้นผมหลงเหลืออยู่บ้างนั่นเอง ทั้งนี้ PRP จะไม่เหมาะกับผู้ที่ทานยาต้านเกล็ดเลือด หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว อย่าง โรคโลหิตจาง ความดัน เพราะเลือดอาจไม่สมบูรณ์พอที่จะนำมาใช้ในการรักษาได้
ขั้นตอนการทำ PRP
สำหรับขั้นตอนการทำ PRP นั้นจะไม่มีการผ่าตัดใด ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการฉีดบริเวณหนังศีรษะจึงจะมีความปลอดภัยมาก ซึ่งขั้นตอนของการทำ PRP สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้
- ผู้เข้ารับบริการเข้าเจาะเลือดจากแขนประมาณ 20-30มล.
- แพทย์ทำการเติมสารป้องกันการแข็งตัวของเลือด แล้วนำไปปั่นแยก
- เอาส่วน PRP ออกมา แล้วฉีดกลับเข้าหนังศีรษะ
- แพทย์ทำการฉีดไปบริเวณส่วนที่ต้องการการฟื้นฟู เพื่อช่วยกระตุ้นเซลล์รากผมที่หยุดทำงาน ให้กลับมาสร้างเส้นผมได้พร้อมบำรุงให้เกิดความแข็งแรง
ข้อดีของ PRP ที่ใคร ๆ ก็อยากทำ
แม้จะเป็นเพียงหัตถการเล็ก ๆ แต่ทุกคนอาจนึกไม่ถึงว่า PRP นั้นมีข้อดีมากมาย เช่น…
- สามารถคืนความอ่อนเยาว์ให้กับผิว เพราะสามารถกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน
- ช่วยปรับสมดุลการสร้างเม็ดสีผิว ทำให้ปัญหาฝ้า กระ จุดด่างดำต่างๆ ลดเลือนลง
- สามารถกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอิลาสตินให้กลับขึ้นมาแข็งแรงได้อีกครั้ง จึงทำให้ช่วยลดปัญหารอยเหี่ยวย่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- คืนความกระชับให้กับใบหน้า ทำให้ใบหน้าเรียบเนียนสวย เต่งตึง
- สามารถลดอาการอักเสบของผิวได้ ทำให้ผิวกลับมาแข็งแรงขึ้นได้
- ช่วยซ่อมแซมผิวเสียที่ถูกทำลายจากมลภาวะ ทั้งแสงแดด ความร้อน ฝุ่นละออง รวมทั้งความเครียด
- ช่วยรักษาผิวใบหน้า คืนความชุ่มชื่นให้กับผิว ประหนึ่งผิวสาวดุจแรกแย้ม
- ทำให้ใบหน้ากระจ่างใสขึ้นได้อย่างเป็นธรรมชาติ
- ช่วยปรับรูขุมขนของผิวหน้าให้กระชับมากขึ้น จึงทำให้ผิวทั้งเรียบและเนียน มีน้ำมีนวล
- ช่วยเติมออกซิเจนให้ผิว ทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตบนใบหน้าดีขึ้นกว่าเดิม
- เมื่อ PRP ถูกฉีดเข้าที่หนังศีรษะ จะทำให้หนังศีรษะกลับมามีสุขภาพดีอีกครั้ง
ข้อจำกัดของ PRP ที่ควรรู้
เมื่อมีข้อดี แน่นอนว่าก็ต้องมีข้อจำกัดที่ตามมา ซึ่งข้อจำการของการทำ PRP ที่ผู้เข้ารับบริการควรรู้ ประกอบด้วย…
- ไม่เหมาะกับผู้ที่รับประทานยาต้านเกล็ดเลือด หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว อย่าง โรคโลหิตจาง ความดัน
- ต้องทำการเจาะจากแขนเพื่อเก็บเลือด
- หากหลังเข้ารับบริการได้รับการดูแลที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้หนังศีรษะหลุดลอกเป็นสะเก็ด
อย่างไรก็ตาม ทุกคนอาจเห็นได้แล้วว่าการรักษาแบบ PRP มีทั้งข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นก่อนเข้ารับการรักษาควรศึกษาและพิจารณาเลือกให้รอบคอบ ทั้งนี้ หากไม่แน่ใจให้เข้ารับคำแนะนำจากแพทย์จะดีที่สุด
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับบริการ PRP
เนื่องจากการบริการแบบ PRP นั้นต้องมีการสกัดเลือดออกมาเพื่อใช้กระตุ้นรากผมให้แข็งแรง ซึ่งเป็นกระบวนการฟื้นฟูและซ่อมแซมที่สำคัญ ดังนั้น ก่อนเข้ารับบริการ ผู้เข้ารับการรักษาจำเป็นต้องนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม (2 ลิตร/วัน) รวมถึงงดการดื่มแอลกอฮอล์ งดบุหรี่ เพื่อป้องกันภาวะเลือดหนืดจนเกินไปเพราะจะทำให้ไม่สามารถนำเกล็ดเลือดมาใช้ได้ ทั้งนี้ ควรสระผม และหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ปรับแต่งทรงผมต่าง ๆ ก่อนเข้ารับบริการด้วย
การดูแลตนเองหลังเข้ารับบริการ PRP
สำหรับเบื้องต้น ผู้เข้ารับการรักษาควรเลี่ยงการโดนน้ำ 1 วันหลังเข้ารับบริการ และยังคงต้องหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ปรับแต่งทรงผมต่าง ๆ ก่อนในช่วงแรก ทั้งนี้ จะต้องเลือกใช้แชมพูชนิดอ่อน ๆ ในช่วงสัปดาห์แรกของการรักษา ในขณะสระผมไม่ควรขยี้หรือเกาหนังศีรษะแรง ๆ แม้จะไม่ต้องกังวลเรื่องผลข้างเคียงแบบการผ่าตัด แต่ก็ไม่ควรมีพฤติกรรมเสี่ยงไปกระตุ้นให้เกิดผลเสียต่อหนังศีรษะ เพียงผู้รับการรักษาดูแลตัวเองได้ดีก็จะช่วยให้ผลการรักษาดียิ่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัดได้เช่นกัน
PRP ผม ควรทำกี่ครั้ง จึงจะเห็นผล?
โดยทั่วไปแล้วการทำ PRP จะทำ 3-10 ครั้ง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความยากง่ายและความรุนแรงของอาการของผู้เข้ารับการรักษาด้วย และเพื่อให้เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน ควรพบแพทย์อย่างต่อเนื่อง 2-3 เดือนเพราะจะส่งผลให้ผลของการรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนั่นเอง