หนังศีรษะอักเสบ ผมร่วง ช่วงหน้าร้อน แก้ไขยังไงดี?

หนังศีรษะอักเสบ ผมร่วง ถือเป็นปัญหาที่หลาย ๆ คนประสบอยู่ ยิ่งโดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนเช่นนี้ ก็ยิ่งอาจเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้หนังศีรษะเกิดอาการอักเสบได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งอาการผิดปกติดังกล่าวทำให้มีผลข้างเคียงของการผมร่วงตามมา ซึ่งหากไม่รักษาให้หายและปล่อยไปเรื่อย ๆ อาจทำให้เกิดภาวะหัวล้านจากความผิดปกติเช่นนี้ในที่สุด ดังนั้น เราควรดูแลตนเองอย่างไรหรือจะมีการรักษาอย่างไรบ้าง ในบทความนี้มีคำตอบ

หนังศีรษะอักเสบ ผมร่วง-seborrheic dermatitis

หนังศีรษะอักเสบ ผมร่วง คืออะไร เกิดจากอะไรได้บ้าง?

หลายคนให้ความสำคัญกับเส้นผม ทั้งหาตัวช่วยบำรุงให้ผมนุ่ม เงางาม แต่อย่าลืมว่าหนังศีรษะเป็นส่วนที่สำคัญยิ่งกว่า เพราะเป็นบริเวณให้เส้นผมยึดเกาะและเป็นบริเวณที่มีหลอดเลือดมาหล่อเลี้ยง ดังนั้น หากหนังศีรษะแข็งแรง เส้นผมที่เกิดขึ้นก็จะแข็งแรงและไม่หลุดร่วงง่าย แต่ถ้าหากมันอ่อนแอเมื่อไหร่ก็อาจส่งปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้เช่นกัน

หนังศีรษะอักเสบ ช่วงหน้าร้อน เกิดจาก…

หนังศีรษะอักเสบ หรือ เซ็บเดิร์ม (Seborrheic dermatitis) เป็นภาวะที่หนังศีรษะมีภาวะผิวหนังอักเสบจากต่อมไขมันในชั้นผิวหนัง สามารถพบได้บ่อยทั้งในหน้าร้อน และหน้าหนาว โดยเฉพาะความร้อนที่สามารถกระตุ้นต่อมไขมันบริเวณผิวหน้าจะสร้างซีบัม (sebum) หรือไขมันออกมามาก ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้ผื่นเซ็บเดิร์มเกิดได้มากขึ้น ส่วนในหน้าหนาว เมื่ออากาศแห้งเกินไปก็จะกระตุ้นให้เกิดผื่นเซ็บเดิร์มได้เช่นกัน จนทำให้หนังศีรษะเกิดความผิดปกติได้ในที่สุด

ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่นอกจากอากาศร้อนแล้วก็ส่งผลให้หนังศีรษะเกิดการอักเสบได้ เช่น การใช้สารเคมีกับหนังศีรษะมากเกินไป และภาวะทางร่างกาย เช่น ฮอร์โมนร่างกาย และพันธุกรรมบางชนิดที่มีส่วนทำให้อาการรุนแรงขึ้น ดังนั้น ผู้ที่มีปัญหาอยู่ควรเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์โดยตรงจะดีที่สุด เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะที่สุดให้กับตนเองนั่นเอง

ผมร่วงจากหนังศีรษะอักเสบ

หนังศีรษะอักเสบ ผลข้างเคียง มีอะไรบ้าง?

แม้ภาวะหนังศีรษะอักเสบจะไม่มีความรุนแรงมากมายนัก แต่ก็ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่น่ารำคาญใจตามมาหลาย ๆ อย่าง เช่นอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้…

รังแค

เป็นภาวะที่พบได้ทุกเพศทุกวัยและส่งผลต่อบุคลิกเป็นอย่างมาก ในบางรายอาจมีอาการคันร่วมด้วย สามารถสังเกตเห็นได้ง่ายบริเวณโคนผม เส้นผม

หนังศีรษะแห้ง

โดยอาจร่วมด้วยหนังศีรษะลอก เป็นขุย เกิดจากเซลล์ผิวชั้นบนหลุดลอก อาจเกิดจากความไม่สมดุลหรือเกิดจากผลข้างเคียงของโรคผิวหนังอื่น ๆ ส่งผลให้เซลล์ผิวบริเวณหนังศีรษะผลัดตัวมากผิดปกติจนเกิดเป็นขุยสีขาว หลุดร่วงกวนใจ

ผมร่วง

จากที่ได้กล่าวไปในข้างต้น ว่าหากหนังศีรษะมีสุขภาพที่แข็งแรง ก็จะส่งผลให้สุขภาพผมดีตามไปด้วย แต่ถ้าหากหนังศีรษะมีความผิดปกติโดยเฉพาะมีอาการอักเสบก็อาจทำให้เส้นผมไม่ได้รับการหล่อเลี้ยงจากหนังศีรษะที่ดีมากพอ ส่งผลให้รากผมไม่สามารถเกาะบนหนังหัวได้นานเท่าที่ควรและหลุดร่วงได้ง่าย

หนังศีรษะอักเสบ แก้ยังไง?

จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าเซ็บเดิร์มไม่ได้มีอันตรายมากนัก ดังนั้นแนวทางการรักษาจึงสามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างให้เหมาะสมก็สามารถช่วยได้ โดยผู้ประสบปัญหาอาจเริ่มด้วย

  • หลีกเลี่ยงสารเคมี เช่น การทำสีผมหรือผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม ที่มีโอกาสสัมผัสกับหนังศีรษะโดยตรง อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ อุดตันรูขุมขน และหนังศีรษะอักเสบได้
  • ไม่สระผมบ่อยจนเกินไป เนื่องจากการสระผมบ่อย ๆ เป็นการชะล้างน้ำมันตามธรรมชาติที่ผลิตขึ้นเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้หนังศีรษะและเส้นผม
  • ใช้เซรั่มบำรุงบ้าง การใช้เซรั่มบำรุงหนังศีรษะจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ทำให้รากผมแข็งแรงและลดการขาดหลุดร่วงของเส้นผมได้
  • เข้าพบแพทย์ เมื่อมีอาการผิดปกติบริเวณหนังศีรษะ ในกรณีพบอาการที่อาจเกี่ยวข้องกับโรคของหนังศีรษะ ควรเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการรักษาหรือขอรับคำแนะนำสำหรับวิธีการดูแลตัวเองที่ถูกต้อง

ซึ่งวิธีดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งสำหรับผู้ที่มีภาวะหนังศีรษะอักเสบไม่รุนแรงมากและยังพอควบคุมได้ด้วยตนเอง ซึ่งสำหรับบางกรณีที่ภาวะหนังศีรษะมีอาการรุนแรง ส่งผลให้ผมร่วงจนไม่สามารถแก้ไขได้เองแล้ว ควรเข้าพบแพทย์เพื่อใช้เทคนิคทางการแพทย์เข้าช่วยจะดีกว่า

วิธีรักษาผมร่วงจากหนังศีรษะอักเสบ จาก The PRIME Medical Center by NAVAMIN9 HOSPITAL มีอะไรบ้าง?

สำหรับวิธีการรักษาภาวะผมร่วง ทาง The PRIME Medical Center by NAVAMIN9 HOSPITAL มีให้บริการหลายเทคนิคด้วยกัน แต่จะสามารถแบ่งได้เป็น 3 วิธีหลัก ๆ ดังนี้…

Platelet Rich Plasma (PRP)

การทำ PRP (Platelet Rich Plasma) หรือ Hair Therapy เป็นการซ่อมแซมเซลล์รากผมที่อ่อนแอ ให้กลับแข็งแรงขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งการทำ PRP นี้ถือเป็นการปลูกผมในรูปแบบหนึ่ง กับคนไข้ที่มีภาวะปัญหาผมบาง และหลุดร่วงง่ายแต่จะไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้กับบริเวณที่ไม่มีผมขึ้นมาเลย หรือไม่สามารถแก้ไขปัญหาหัวล้านได้นั่นเอง

โดย PRP แพทย์จะทำการฉีดไปบริเวณส่วนที่ต้องการการฟื้นฟู และยังช่วยกระตุ้นเซลล์รากผมที่หยุดทำงาน ให้กลับมาสร้างเส้นผมได้พร้อมบำรุงให้เกิดความแข็งแรง ผลลัพธ์ที่ออกมาจะสามารถเห็นความหนาแน่นของเส้นผมเพิ่มขึ้นได้ด้วยตาเปล่า นอกจากนี้ PRP ยังเป็นวิธีที่ปลอดภัย ไร้สารเคมี ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้น สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติหลังทำ นับว่าเป็นทางเลือกในการรักษาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และสามารถทำควบคู่กับการปลูกผม FUE/DHI/NHI ฯลฯ ได้อีกด้วย

การกระตุ้นเซลล์รากผมด้วย MESO Hair

การทำ MESO Hair เป็นการผลักตัวยา และวิตามินเข้าบำรุงเซลล์รากผม เหมาะกับผู้ที่มีภาวะผมบางหลุดร่วง ส่วนมากเกิดจากความเครียด, การเจ็บป่วย, การดัดย้อมด้วยเคมีที่รุนแรง เป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ซึ่ง MESO Hair เป็นตัวช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนของโลหิตบริเวณหนังศีรษะ ทำให้เซลล์รากผมได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่ เสริมสร้างการเกิดใหม่ของเส้นผมและชะลอการหลุดร่วงให้เส้นผมมีอายุยืนยาวมากขึ้น ระยะเวลาในการทำสองสัปดาห์ต่อครั้ง และส่วนมากจะเริ่มเห็นผลในเดือนที่ 2-3 เป็นต้นไป

การกระตุ้นเซลล์รากผมด้วย โปรตีนขนาดเล็ก Exosome

วิธีนี้เป็นเทคโนโลยีการรักษาที่ใช้องค์ประกอบของโปรตีน ที่มีขนาดเล็กมาก ๆ มีเส้นผ่าศูนย์กลางของโปรตีนประมาณ 30-100 นาโนเมตร หรือมีขนาดที่เล็กกว่าเซลล์ในร่างกายเราถึง 1/1,000 เท่า ใน Exosome จะประกอบไปด้วยสารชีวโมเลเกุลมากมาย อาทิเช่น Cytokines, Growth factors, Micro RNA ฯลฯ ที่มากกว่า PRP 1,000 เท่าตัว ทำให้เกิดการกระตุ้น ฟื้นฟู และมีการซ่อมแซมเซลล์รากผมได้อย่างดีเยี่ยม

ตัวอย่างขั้นตอนการรักษาแบบ PRP

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการรักษาสำหรับผู้มีภาวะผมบางเท่านั้น โดยยังมีอีกหลายหลายวิธีด้วยกัน ขึ้นอยู่กับ อาการ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยและประเมิน เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งอาจจะเป็น 3 อย่างนี้ หรือ วิธีอื่นๆ
ก็เป็นได้ เช่น การปลูกผม ยา วิตามิน อาหารเสริม สเปรย์ เซชั่น แชมพู ฉายแสง การฉีดตัวยาอื่น ๆ หรือทรีตเม้นท์อื่น ๆ ด้วย เพื่อที่จะได้เลือกวิธีที่เหมาะสมกับผู้เข้ารับบริการมากที่สุด

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ผมข้างหน้าบางทำไง รักษาวิธีไหนได้ผลที่สุด

ปลูกผม FUE VS ปลูกผม FUT ต่างกันยังไง แบบไหนดีกว่ากัน?

ผมบางกลางหัวเกิดจากอะไร รักษาหายไหม เสี่ยงหัวล้านหรือเปล่า?